วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม


t

ภาคผนวก

                           ภาคผนวก


                                  ภาพนี้เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดกรุงเทพในปี 54


ภาพพายุ นากิสที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียแล้วขึ้นฝั่งที่ประเทศพม่า



โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 


                                  การที่โลกร้อนขึ้นทำให้น้ำแข็งขั่วโลกละลาย

                

ประเทศไทยกับภาวะโลกร้อน

ประเทศไทยกับภาวะโลกร้อน

1. นิยาม
                การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate  Change) ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United  Nation  Framework  Convention  on  Climate  Change : UNFCCC) คือ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ของอากาศซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  อันทำให้ส่วนประกอบของบรรยากาศโลกเปลี่ยนแปลงไป  นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติในช่วงเวลาเดียวกัน

2.  สาเหตุ

                ปรากฏการณ์เรือนกระจก  นับเป็นสาเหตุพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก  โดยที่โลกมีระบบควบคุมอุณหภูมิของสภาพบรรยากาศอยู่แล้ว  โดยรังสีจากดวงอาทิตย์จะแผ่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศและให้ความร้อนแก่โลก  พลังงานบางส่วนทำให้โลกอบอุ่น  ก่อนจะถูกแผ่กลับออกห้วงอวกาศในรูปรังสีอินฟราเรด  โดยในภาวะปกติรังสีอินฟราเรดที่ถูกแผ่ออกไปบางส่วนจะถูกชั้นบรรยากาศของโลกกักเก็บไว้ตามธรรมชาติ  ซึ่งจะช่วยให้อุณหภูมิของโลกอยู่ในระดับพอเหมาะ

3.  ปัญหา
                โลกกำลังเผชิญกับปัญหาที่ชั้นบรรยากาศของโลกกลับหนาขึ้น  เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่มนุษย์เป็นผู้ก่อ  เมื่อชั้นบรรยากาศหนาขึ้น  จะกักเก็บรังสีอินฟราเรดซึ่งควรจะหลุดลอดไปสู่ห้วงอวกาศ  ผลที่ตามมา  คืออุณหภูมิของบรรยากาศโลก  และมหาสมุทร  กลับอุ่นขึ้นจนอยู่ในระดับอันตราย



4.  สถานการณ์ภาวะโลกร้อน (Climate Change 2007 : Synthesis Report IPCC4th Assessment )
                 ภาวะโลกร้อนส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น  โดยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2538 2549 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ตั้งแต่  พ.ศ. 2539  และเกิดเหตุการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลายระดับน้ำทะเลสูงขึ้น  รวมทั้งเกิดภัยธรรมชาติรุนแรงจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลก  เช่น  เฮอริเคน  ไต้ฝุ่น  โคลนถล่ม  ภัยแล้ง  และน้ำท่วม  ในทั่วภูมิภาคเอเชียและอเมริกากลาง  ในขณะที่ทวีปยุโรปต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวของกลไกธรรมชาติของโลกที่นับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
                จากสถานการณ์โลกร้อน  จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของมนุษย์ในหลายด้าน (IPCC, 2002)  คือ
1)           ผลกระทบต่อความมั่นคงของแหล่งอาหารและน้ำจืด  ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพทางการเกษตร  ปศุสัตว์และการประมงลดลง
2)           ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ  พืชและสัตว์บางชนิดสูญพันธ์  มีผลต่อสมดุลระบบนิเวศน์
3)           ผลกระทบต่อการอพยพถิ่นฐานของประชาชกรโลกเนื่องจากภัยธรรมชาติ  เช่น  น้ำท่วม  ความแห้งแล้ง  และความขัดแย้งจากการขาดแคลนอาหารเพื่อแย่งหาแหล่งน้ำและพื้นที่ทำกิน
4)           ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย  การแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ เจ็บป่วยจากอุณหภูมิสูง และเครียดจากการปรับตัวทางเศรษฐกิจและสังคม และภัยธรรมชาติที่เกิดบ่อย

5.  แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อภาวะโลกร้อน
                ปัจจุบันการรับรู้และทัศนคติของสาธารณชนในความห่วงใยต่อสาเหตุและความสำคัญของปรากฏการณ์โลกร้อนมีมากขึ้น  และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ชาติต่าง ๆ รวมทั้งชุมชนและองค์การในภูมิภาคต่าง ๆ เริ่มปฏิบัติการเพื่อหยุดการร้อนขึ้นของโลก
                ข้อตกลงอันกับต้นของโลกว่าด้วยการต่อสู้เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกคือ  พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ซึ่งเป็นกฏหมายระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดพันธกรณีที่จะทำให้การลดก๊าซเรือนกระจกเป็นจริงในทางปฏิบัติมากขึ้นจากอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดยได้เจรจาต่อรองและตกลงกันเมื่อปี พ.ศ. 2540  ปัจจุบันพิธีสารดังกล่าวครอบคลุมประเทศค่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า  160  ประเทศและรวมปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า  65 % ของทั้งโลก
                หลักการสำคัญของพิธีสารฯ ใช้หลักการรับผิดชอบโดยแบ่งกลุ่มประเทศตามระดับแตกต่างกันทั้งจากปัจจัยเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจ  และสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกล่าวคือ
                ประเทศอุตสาหกรรมต้องเป็นผู้นำในการต่อสู้กับปัญหา  และประเทศกำลังพัฒนาดำเนินการตามกำลังและความสามารถ  นโยบายและข้อตกลงในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว (43 ประเทศ)  มีพันธกรณีที่ต้องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามอนุสัญญาฯ  ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ (เช่น ASEAN  จีน อินเดีย)  ไม่มีพันธกรณีในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก  ทำให้สหรัฐฯ ใช้อ้างเป็นเหตุผลที่ยังไม่ยอมให้สัตยาบันในพิธีสารดังกล่าว  ทั้งที่สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก (IPCC.2002)
                สหรัฐฯ ให้เหตุผลว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเพราะยังมีการยกเว้นให้ประเทศอื่น ๆ ในโลกมากกว่าร้อยละ 80 ของประเทศที่ลงนามทั้งหมด  รวมทั้งประเทศที่เป็นศูนย์รวมประชากรที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ  จีน  และอินเดีย  อย่างไรก็ดี  ยังมีรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นจำนวนมากในสหรัฐฯ ที่ริเริ่มโครงการรณรงค์วางแนวปฏิบัติของตนเองให้เป็นไปตามพิธีสารเกียวโตตัวอย่างเช่น  การริเริ่มก๊าซเรือนกระจกภูมิภาค  ซึ่งเป็นโปรแกรมการหยุดและซื้อเครดิตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับรัฐ
                นอกจากนี้  ประเด็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนำไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาใหม่ (nowly developed economies) อย่างประเทศจีนและอินเดีย  ว่าควรบังคับระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าใด  โดยมีการคาดกันว่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รวมของประเทศจีนจะสูงกว่าอัตราการปล่อยของสหรัฐฯ ภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้

6.  การเคลื่อนไหวของไทยต่อภาวะโลกร้อน

                สถานการณ์ภาวะโลกร้อน  ทำให้เกิดความแปรปรวนของภูมิอากาศ  ฤดูกาล  และปริมาณน้ำฝน  ล้วนมีผลกระทบต่อประเทศไทยไม่ต่างจากประเทศอื่น ๆ ในโลก  โดยสังเกตได้จากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีทั้งภัยแล้ง  พายุ  และน้ำท่วม  ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เห็นได้ชัดเจนในระยะสั้นแก่ประเทศไทยได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก  โดยผลกระทบดังกล่าว  อาจส่งผลต่อสถานะของไทยในการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรอันดับต้นของโลก  รวมถึงการส่งเสริมยุทธศาสตร์การค้าครัวไทยสู่ครัวโลก
                  โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย  ได้แก่  ข้าว  เนื่องจากมีรายงานการวิจัยจากสถาบันข้าวนานาชาติในประเทศจีนพบว่า  อุณหภูมิที่สูงขึ้นในนาข้าวมีผลต่อละอองเรณูซึ่งอ่อนไหวต่ออุณหภูมิอย่างมาก  ทำให้ผสมไม่ติดข้าว  โดยในรวงข้าวไม่มีเมล็ด  จากผลรายงานดังกล่าวย่อมมีผลต่อภาคการผลิตและการส่งออกข้าวของไทยในอนาคต  หากปัญหาโลกร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้น
                 ประเทศไทยได้ร่วมลงนามและให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2542  และเดือนสิงหาคม  ปี พ.ศ. 2545  ตามลำดับ  พิธีสารดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่  16  กุมภาพันธ์  แม้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาตามบัญชีประเทศของอนุสัญญาฯ ที่ไม่มีพันธกรณีในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก  แต่มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean  Development  Mechanism : CDM) ตามพิธีสาร ฯ ได้  ทั้งนี้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ได้เริ่มวางแผนการดำเนินงานตามพิธีสาร ฯ ในการทำ  CDM  เพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากโครงการนี้ในหลายด้าน  เช่น  ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศ  มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่สะอาด  และถ่ายทอดเทคโนโลยี  และความรู้ด้านการจัดการ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้แพร่หลายในประเทศ  เป็นต้น

7.  ข้อเสนอแนะ
                 จากการศึกษาสถานการณ์ภาวะโลกร้อนข้างต้น  แม้จะเป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยอาจสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนในด้านต่าง ๆ จากภาวะโลกร้อนได้  โดยจะเชื่อมโยงโอกาสดังกล่าวตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกระทรวงพาณิชย์  ดังนี้

                7.1  การผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด
                   สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ โดยพัฒนาสินค้า/เทคโนโลยีที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจก  หรือสินค้าที่กระบวนการผลิตมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณน้อยลง  โดยครอบคลุมสินค้าตั้งแต่ของใช้สอยประจำวัน  จนถึงภาคอุตสาหกรรมและภาคอสังหาริมทรัพย์รวมทั้งภาคบริการที่เน้นกิจกรรมช่วยลดภาวะโลกร้อน เป็นต้น
                เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไทยต่อการค้าระหว่างประเทศในอนาคตที่อาจมีการพัฒนาเงื่อนไขของการกีดกันการค้าที่เข้มงวดมากขึ้นในด้านสิ่งแวดล้อม  โดยเฉพาะมาตรการป้องกันภาวะโลกร้อน  โดยอาจระบุสินค้าที่จะนำเข้าประเทศนั้น  ในกระบวนการผลิตต้องไม่มีส่วนในการทำลายชั้นบรรยากาศ  หากผู้ประกอบการในประเทศไทยไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานเหล่านี้  อาจสูญเสียโอกาสทางการตลาดของโลกได้

                7.2  มุ่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร
                  สร้างเกราะป้องกันแก่สินค้าเกษตรไทยจากภาวะโลกร้อน  โดยประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง  ให้ตระหนักต่อผลกระทบของโลกร้อนต่อผลผลิตทางการเกษตรเพื่อกระตุ้นให้มีการวิจัยด้านการพัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจของไทยมากขึ้น  โดยเฉพาะพันธุ์ข้าว  ให้มีความทนต่ออุณหภูมิสูง  แต่ยังให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ  เพื่อประเทศไทยจะมีผลผลิตทางการเกษตรสนองตอบต่อความต้องการของตลาดในประเทศ  และสามารถรักษาตลาดส่งออกสินค้าเกษตร  แม้จะมีการแปรปรวนทางสภาพอากาศมากขึ้นในอนาคต
                  ปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศมีอิทธิพลต่อผลผลิตทางการเกษตร  การติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศคู่แข่งทางด้านสินค้าเกษตร  ควบคู่ตัวเลขชี้นำทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ช่วยให้สามารถประเมินสถานการณ์อุปสงค์อุปทานของสินค้าเกษตรในตลาดโลก  และกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงมากขึ้น

                7.3  เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากโครงการ กลไกการพัฒนาที่สะอาด

                การใช้ประโยชน์จากโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด  (Clean  Development  Mechanism: CDM)  ตามพิธีสารเกียวโต  ซึ่งเป็นกลไกตามข้อตกลงเกียวโตที่ให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถดำเนินการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา  และนำปริมาณก๊าซฯ ที่ลดได้ไปคำนวณเป็นเครดิตของประเทศตนเองเพื่อบรรลุเป้าหมายตามพันธกรณี  ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับประโยชน์ด้านการลงทุน  เช่น  เทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด  การถ่ายทอดเทคโนโลยี  การจ้างงาน  และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

แนวทางแก้ไข

แนวทางการแก้ไข
               หลังจากที่มีการค้นพบว่าบริเวณขั้วโลกใต้ในฤดูใบไม้ผลิได้เกิดรูรั่วของบรรยากาศชั้นโอโซนขึ้น โดยมีสาเหตุจากสารสังเคราะห์จำพวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือ CFCs องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติจึงผลักดันให้มีการลงนามใน อนุสัญญาเวียนนา ว่าด้วยการพิทักษ์ชั้นโอโซน ในปี พ.ศ. 2528 ต่อมาได้มีข้อกำหนดที่เกิดขึ้น เมือ พ.ศ. 2530 ณ นครมอนทรีออล ว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน ที่เรียกว่า พีธีสารมอนทรีออล โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก แต่ตั้งปี พ.ศ. 2532 และได้มีการจัดตั้งหน่วยอนุรักษ์โอโซนในอุตสาหกรรมทั้งภาคผลิตและภาคการบริการ โดยจัดทำแผนงานเลิกการใช้สารทำลายโอโซน และจัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในแต่ละอุตสาหกรรม รวมถึงมาตรการควบคุม และลดปริมาณการนำเข้าสารทำลาชั้นโอโซนและประสานงานกับหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเทคโนโลยีทดแทน
             ในปี พ.ศ. 2540 ได้เกิด พิธีสารโตเกียว ขึ้นโดยมีการกำหนดให้ประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้ว ต้องมีการลดปริมาณก๊าชเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ได้แก่ ก๊าชคาร์บอนได้ออกไซต์ (CO2) ก๊าชมีเทน (CH4) ก๊าชไนตรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าชไฮโดรฟูโอคาร์บอน (HFCs) ก๊าชเปอร์ฟลูโรคาร์บอน (CFCs) และก๊าชซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ (SF6) โดนรณรงค์ให้ทั่วโลกหันมาใช้ พลังงานสะอาด (Glean Energy) หรือพลังงานทดแทนจากธรรมชาติ เพื่อเป็นการลดการปล่อยก๊าชเรื่อนกระจกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกสู่สิ่งแวดล้อมให้น้อยลง มย�@$� ������ละไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะป้องกันผลกระทบของภาวะโลกร้อนได้ ยกตัวอย่างเช่น การป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในพื้นที่ทำกิน อาจทำได้โดยการสร้างเขื่อน และประตูน้ำป้องกันน้ำเค็ม แต่วิธีการนี้ต้องลงทุนสูง ดังนั้นเมื่อราคาของการป้องกันสูงเกินกว่าที่ชาวนาจะสามารถรับได้ การทิ้งพื้นที่ทำกินในบริเวณที่ให้ผลผลิตต่ำจึงเป็นทางออกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

                นอกจากนี้ ความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญตามแนวชายฝั่งที่ยุบตัว ภัยธรรมชาติ และความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่รุนแรง ล้วนส่งผลให้ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของประเทศมีปริมาณลดลง พื้นที่ที่คุ้มค่าแก่การป้องกันในเชิงเศรษฐกิจ และพื้นที่ที่มีการพัฒนาสูง อาจได้รับการป้องกันล่วงหน้า เช่น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จำต้องมีโครงสร้างป้องกันกระแสคลื่น ซึ่งจะรุนแรงขึ้นเมื่อน้ำทะเลสูงขึ้น หรือการสร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลหรือเขื่อน เพื่อป้องกันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร และการทำนาเกลือ เป็นต้น
                การป้องกันดังกล่าวนั้นจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ดังนั้น ในพื้นที่ที่ไม่คุ้มค่าที่จะป้องกันในเชิงเศรษฐกิจจะถูกละทิ้งไป ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุด เช่น การช่วยเหลือชาวนา ซึ่งจำเป็นที่จะต้องย้ายไปอยู่ที่ที่สูงขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลรุก เป็นต้น