วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนวทางแก้ไข

แนวทางการแก้ไข
               หลังจากที่มีการค้นพบว่าบริเวณขั้วโลกใต้ในฤดูใบไม้ผลิได้เกิดรูรั่วของบรรยากาศชั้นโอโซนขึ้น โดยมีสาเหตุจากสารสังเคราะห์จำพวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือ CFCs องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติจึงผลักดันให้มีการลงนามใน อนุสัญญาเวียนนา ว่าด้วยการพิทักษ์ชั้นโอโซน ในปี พ.ศ. 2528 ต่อมาได้มีข้อกำหนดที่เกิดขึ้น เมือ พ.ศ. 2530 ณ นครมอนทรีออล ว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน ที่เรียกว่า พีธีสารมอนทรีออล โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก แต่ตั้งปี พ.ศ. 2532 และได้มีการจัดตั้งหน่วยอนุรักษ์โอโซนในอุตสาหกรรมทั้งภาคผลิตและภาคการบริการ โดยจัดทำแผนงานเลิกการใช้สารทำลายโอโซน และจัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในแต่ละอุตสาหกรรม รวมถึงมาตรการควบคุม และลดปริมาณการนำเข้าสารทำลาชั้นโอโซนและประสานงานกับหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเทคโนโลยีทดแทน
             ในปี พ.ศ. 2540 ได้เกิด พิธีสารโตเกียว ขึ้นโดยมีการกำหนดให้ประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้ว ต้องมีการลดปริมาณก๊าชเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ได้แก่ ก๊าชคาร์บอนได้ออกไซต์ (CO2) ก๊าชมีเทน (CH4) ก๊าชไนตรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าชไฮโดรฟูโอคาร์บอน (HFCs) ก๊าชเปอร์ฟลูโรคาร์บอน (CFCs) และก๊าชซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ (SF6) โดนรณรงค์ให้ทั่วโลกหันมาใช้ พลังงานสะอาด (Glean Energy) หรือพลังงานทดแทนจากธรรมชาติ เพื่อเป็นการลดการปล่อยก๊าชเรื่อนกระจกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกสู่สิ่งแวดล้อมให้น้อยลง มย�@$� ������ละไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะป้องกันผลกระทบของภาวะโลกร้อนได้ ยกตัวอย่างเช่น การป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในพื้นที่ทำกิน อาจทำได้โดยการสร้างเขื่อน และประตูน้ำป้องกันน้ำเค็ม แต่วิธีการนี้ต้องลงทุนสูง ดังนั้นเมื่อราคาของการป้องกันสูงเกินกว่าที่ชาวนาจะสามารถรับได้ การทิ้งพื้นที่ทำกินในบริเวณที่ให้ผลผลิตต่ำจึงเป็นทางออกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

                นอกจากนี้ ความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญตามแนวชายฝั่งที่ยุบตัว ภัยธรรมชาติ และความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่รุนแรง ล้วนส่งผลให้ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของประเทศมีปริมาณลดลง พื้นที่ที่คุ้มค่าแก่การป้องกันในเชิงเศรษฐกิจ และพื้นที่ที่มีการพัฒนาสูง อาจได้รับการป้องกันล่วงหน้า เช่น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จำต้องมีโครงสร้างป้องกันกระแสคลื่น ซึ่งจะรุนแรงขึ้นเมื่อน้ำทะเลสูงขึ้น หรือการสร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลหรือเขื่อน เพื่อป้องกันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร และการทำนาเกลือ เป็นต้น
                การป้องกันดังกล่าวนั้นจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ดังนั้น ในพื้นที่ที่ไม่คุ้มค่าที่จะป้องกันในเชิงเศรษฐกิจจะถูกละทิ้งไป ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุด เช่น การช่วยเหลือชาวนา ซึ่งจำเป็นที่จะต้องย้ายไปอยู่ที่ที่สูงขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลรุก เป็นต้น
                     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น